เครื่องฟื้นฟูแบต เครื่องรีเฟรส และเครื่องปรับสภาพแบต
Battery Regenerator and Refreshing
BR-15

ราคา 6,800 บาท
รับประกัน 8 เดือน
หากเสีย...เปลี่ยนเครื่องให้ใหม่ฟรี ..แต่ไม่เกิน 2 เครื่อง
ดาวน์โหลดVDO รูปคลื่นการทำงานของเครื่อง 
ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์
คุณสมบัติ ...เป็นเครื่องชาร์จ ...เครื่องฟื้นฟู รีเฟรสแบต...เครื่องยืดอายุแบตเตอร์รี่
ขนาด 12 V 15 A สำหรับแบตขนาดตั้งแต่ 15 A - 150 A
คุณภาพเทียบเท่าแบรนด์ดังของเกาหลี อเมริกา
ไม่ต้องซื้อเครื่องใหญ่ ราคาแพงก็ได้ ทำงานด้วยหลักการเดียวกัน
หากต้องการใช้ฟื้นฟูแบตหลายๆลูกพร้อมกัน ก็ซื้อเครื่องนี้ หลายๆเครื่อง
ซึ่งประหยัดกว่า เสี่ยงน้อยกว่า
หากเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย ส่วนที่เหลือยังทำงานได้
ข้อคำนึง
แบตเตอร์รี่เก่าก็เปรียบเสมือนเสื้อผ้าที่เก่าแล้ว
ไม่มีทางทำให้ใหม่ได้
เสื้อผ้าเก่า ทำได้อย่างเดียวคือ ทำให้สะอาด นั่นคือการซัก
แบตเตร์รี่เก่า ก็ไม่มีทางทำให้ใหม่ได้ เช่นกัน
ทำได้อย่างดีที่สุดคือการทำให้รีเฟรสขึ้น
หรือทำให้สถาพแผ่นธาตุสะอาด
( เช่นเดียวกับการซักผ้า)
ซึ่งทำให้สามารถประจุไฟเข้าไปได้ดี(ชาร์จได้เต็ม) จ่ายไฟได้เต็มกำลัง รวมทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
ไม่มีขบวนการใดๆในโลกนี้ที่ย้อนกลับได้โดยสมบูรณ์แบบ
ตามกฏของเทอร์โมไดนามิคส์ ข้อที่ 2
ถึงแม้จะทำได้(แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบ)
และต้องใส่พลังงานเข้าไป ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ ถือว่าไม่คุ้ม
เครื่องนี้ ไม่สามารถทำให้แบตที่เสียแล้ว คืนสภาพได้
เครื่องนี้ ทำได้ดีกับแบตที่ยังใช้งานได้อยู่ เช่น แบตที่ติดอยู่กับรถแต่ไม่ค่อยได้วิ่ง
หรือแบตที่เริ่มเก็บไฟไม่อยู่
แต่ทั้งหมดนี้ แบตต้องมีสภาพแผ่นธาตุที่ดีอยู่ด้วย
หากแผ่นธาตุเสียหายแล้ว ก็ไม่สามารถรีเฟรสได้
แบตเก่าเก็บที่ไม่ได้ใช้งานมานาน โอกาสรีเฟรสได้ยากมาก
แบตทุกลูกที่ทำการรีเฟรสแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีอายุการใช้งานได้ต่อไปอีกเท่าไร
ดีที่สุดคือ ต้องทดสอบด้วยการ...
1.ใช้เครื่องวัดแบต ตรวจสอบค่า CCA ซึ่งเครื่องมีการคำนวณอายุของแบตให้ด้วย
ขั้นตอนที่ถูกต้องคือ ทำการวัดค่า CCA และความต้านทานภายใน ก่อนและหลังทำการรีเฟรส
หากแบตลูกใดที่หลังจากรีเฟรสแล้ว ค่า CCA ไม่ขึ้นและความต้านทานภายในไม่ลดลง
ก็แสดงว่า แบตลูกนั้นหมดสภาพแล้ว
2.ใช้เครื่องทดสอบโหลดแล้วจับเวลา(Load test)
ง่ายๆคือนำเอา พาวเวอร์แอมป์รถยนต์
ประมาณ 300-500 watt 12VDC ใช้ความต้านทาน 100 Watt แทนลำโพง มาต่อกับแบตแล้วจับเวลาว่าแบตอยู่ได้นานเท่าไร
แล้วทำแบบนี้กับแบตใหม่ แล้วจับเวลาไว้ นำค่ามาเทียบกัน ก็พอประมาณอายุการใช้งานได้
3.ใช้เครื่องทดสอบโดยตรง Battery Load Tester

รายละเอียด ดังนี้

สเตปการชาร์จและการสลายซัลเฟต พร้อมกับการรีเฟรสแบตไปพร้อมกัน

เครื่องยืดอายุแบต
ฟื้นฟูแบต BR – 15
ใช้เทคโนโลยี Reverse Pulse ที่สามารถสลายซัลเฟตที่เกาะอยู่ที่แผ่นธาตุอย่างได้ผล ช่วยคืนสภาพแบตเตอร์รี่ให้มีสภาพ สดใหม่ กำลังไฟแรง พร้อมทั้งยืดอายุ แบตเตอร์รี่ได้ด้วย
ใช้เทคนิค การควบคุมความถี่ , แอมปลิจูด ของ โวลต์ V,และกระแส A ในลักษณะของพัลส์
ซึ่งเป็นเทคนิคที่ดีที่สุด ณ ปัจจุบัน ในการสลายซัลเฟต
ข้อดีของการใช้เครื่องฟื้นฟูแบต BR - 15 คือ
- ในระหว่างการชาร์จไฟ หรือช่วงฟื้นฟู อุณหภูมิของแบตเตอร์รี่จะไม่สูง เมื่อเทียบกับเครื่องชาร์จแบบอนาลอกที่ระหว่างชาร์จจะทำให้อุณหภูมิของแบตสูงกว่า ซึ่งเท่ากับเป็นการบั่นทอนอายุของแบตเตอร์รี่ด้วย
- ระหว่างการชาร์จไฟ หรือช่วงฟื้นฟู การเกิดก๊าซในแบตเตอร์รี่จะน้อยกว่าการชาร์จด้วยเครื่องชาร์จทั่วไป
- ระหว่างการชาร์จหรือ ฟื้นฟู เครื่อง BR - 15 จะทำการ Balance ค่า Voltage ของแต่ละเซลล์ให้ ซึ่งทำให้การประจุไฟ สามารถทำได้อย่างสมดุล ลดปัญหาการจ่ายไฟระหว่างเซลล์ภายในเอง และป้องกันการเกิด Over Voltage ของเซลล์ใดเซลล์หนึ่งได้
ขั้นตอนการทำงานของเครื่อง BR - 15
Step 1. Initial Testing การทดสอบเบื้องต้น
เครื่อง BR – 15 จะทำการส่ง Reverse Pulse ไปยังแบตเตอร์รี่ เพื่อทำการตรวจเช็คสภาพ การรับรู้กระแสไฟฟ้าของแบตเตอร์รี่เพื่อดูว่า แบตยังสามารถชาร์จไฟได้หรือไม่ หรือหากแบตเสื่อมสภาพไปแล้วเครื่อง BR – 15 จะแจ้งผลออกมาและจะไม่ทำงานใน Step ต่อไป
Step 2. Soft Charge การชาร์จระยะแรก
เครื่อง BR – 15 จะทำการชาร์จด้วยกระแสไฟต่ำ ๆ ก่อนเพื่อกระตุ้นแบตให้เตรียมรับสภาพประจุไฟฟ้า ในขั้นตอนนี้หากมีปัญหาภายในแบตเตอร์รี่ เช่น สะพานไฟภายในไม่ดี เครื่อง BR – 15 จะหยุดทำงานทันที
เครื่องจะชาร์จด้วยกระแสไฟประมาณ 8% Rated หรือ ( 8 % ) ( 15A ) = 1200 mA
Step 3. Bulk Charge การชาร์จแบบ Dump ประจุไฟเข้าไป
เป็นช่วงที่ทำการชาร์จประมาณ 80 % ของทั้ง 8 Step ในช่วงนี้ เครื่องจะไต่ระดับกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าขึ้นไป จนกระทั่งค่า V ของแบตเพิ่มสูงขึ้น จนถึงค่า Preset หรือประมาณ 14.7 V จากนั้นเครื่องจะเปลี่ยน Step การชาร์จในลำดับถัดไป
Step 4. Absorption Charge ( High Voltage Stability )
เป็นการชาร์จที่ระดับ Voltage สูง ( 14.7 V ) และที่กระแสสูง ( Rated Charging Current ; 15A ) เพื่อทำให้แบตมีประจุไฟเต็มเร็วขึ้น ช่วงนี้ก็คล้าย ๆ กับการบดอัดดินให้แน่น หลังจากถมดินลงไปแล้วในขั้นที่ 3
Step 5. Test
เครื่อง BR – 15 จะหยุดชาร์จ และลดระดับ Surface Voltage ลงจนถึงค่า ๆ หนึ่ง จากนั้นก็ทำให้แบตลดค่า Voltage ลงอีกจนถึงค่าประมาณ 13.7 V แล้ว BR – 5 จะเริ่ม Charge กระแสไฟเข้าไปอีกครั้งที่ประมาณ 15 A (Rated) แล้วค่อย ๆ ลดค่ากระแสลงเรื่อย ๆ แต่คงระดับ Voltage ที่ 13.7 V
Step 6., 7. Float Charge และ Replenish Charge (การเติมเต็ม)
Step 8. Maintenance Charge การชาร์จซ่อม
จะคล้าย ๆ กับการ Trickle คือค่อย ๆ เติมกระแสไฟเข้าไปจนเต็มเปี่ยม ด้วยเทคนิคการยกระดับ Voltage ในแบบ Jerk หรือ การกระตุกเป็นช่วง ๆ
การ Trickle เปรียบเสมือน การค่อย ๆ รินน้ำลงในขวดจนเต็ม คือในช่วงแรก เราอาจกรอกน้ำลงไปได้ทีละมาก ๆ ( Bulk Charge ) แต่พอน้ำใกล้เต็มขวด เราต้องค่อย ๆ รินเข้าไปทีละน้อย ๆ น้ำจึงจะเต็มโดยสมบูรณ์แบบ
เครื่อง BR – 15 จะทำการปล่อยคลื่นความถี่ระดับ Ultrasonic หรือความถี่เหนือเสียงที่มนุษย์ได้ยิน (มากกว่า 20,000 Hz) เข้าไปพร้อมกับการชาร์จ เพื่อเข้าไปทำการสลายซัลเฟตที่เกาะกับแผ่นธาตูให้หลุดออกมา แล้วละลายไปกับน้ำกรดในแบเตอร์รี่
ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอนการทำงานอันอัจฉริยะ ควบคุมด้วย Microprocessor
ข้อควรระวัง
- ต้องทำการคีบแบตให้เรียบร้อยก่อน เสียบปลั๊กไฟ 220 V มิฉะนั้นเครื่อง BR – 15 จะเสียหาย
- ระหว่างทำการชาร์จ ห้ามยกปากคีบออกไปคีบแบตลูกอื่น เพราะเครื่อง BR – 15 จะเสียหาย หากต้องการหยุดการทำงาน ให้ถอดปลั๊กไฟ 220 V AC
- เมื่อทำการชาร์จเสร็จแล้วให้ถอดปลั๊กไฟก่อน แล้วค่อยปลดปากคีบจากแบต
หากเครื่องเสียหายในลักษณะเช่นนี้ ทางบริษัท สงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับประกันได้
โปรดใช้งานอย่างระมัดระวัง และทำตามขั้นตอนโดยเคร่งครัด
สำหรับแบตใหม่ หากสามารถทำการรีเจ็น อย่างน้อยปีละ 2-3ครั้งก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานได้อีกเท่าตัว และยังช่วยให้ระบบสตาร์ท ระบบชาร์จ ทำงานได้ดี ไม่โทรมเร็ว
เครื่องนี้เหมาะสำหรับ
- อู่ซ่อมรถยนต์
- สนามกอล์ฟ
- โรงงาน ที่ใช้รถฟอล์คลิฟต์
- เต้นท์รถที่มีปัญหา แบตเตอร์รี่รถยนต์ใช้การไม่ได้
- ผู้ที่รับงานการฟื้นฟู ยืดอายุแบต โดยเฉพาะรถ กอล์ฟ รถฟอล์คลิฟ ท ี่แบตเตอร์รี่มีราคาแพง
มีเครื่องหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตามความเหมาะสม
ระวังสินค้าเลียนแบบ.....
Benifit (คุณค่าของเครื่อง) ยกตัวอย่างเช่น หากสามารถยืดอายุการใช้งานแบตของรถกอล์ฟได้อีก 3 เดือน ก็เท่ากับว่ายังไม่ต้องจ่ายเงินซื้อแบตใหม่ซึ่งมีราคาแพง ประมาณ สามถึงสี่หมื่นบาท ในขณะเดียวกัน เราสามารถให้เช่ารถกอล์ฟต่อไปได้อีกประมาณ 180 วัน
ที่ค่าเช่าวันละ 600 บาท เท่ากับมีรายได้ประมาณ 180x600 =108,000 บาท จากนั้นก็ซื้อแบตเปลี่ยนใหม่
สเปคเครื่องขนาด 12 V 15 A
Input voltage AC: 110VAC or 220VAC, 50-60Hz
Charge control: 14.4VDC/14.7/13.6VDC
Charging current: 15A (Max)
Ambient Temperature: -20°C to +50°C
Cooling: Fan Cooling
Charger Type: 7 step, full automatic switch mode
Batteries: 12V lead-acid batteries
Battery size: 60-180Ah (220Ah maintenance charging)
Dimensions: 175*118*73mm
Net Weight: 1.25KG
ทำงานด้วยระบบไมโครโปรเซสเซอร์ เพียงแค่เสียบปลั๊กและต่อสายเข้ากับแบตเตอร์รี่เท่านั้นเอง เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ
มีระบบป้องกันการลัดวงจร
มีระบบตัดไฟ เมื่อทำการรีเจ็นเสร็จแล้ว
ไม่ทำให้แบตเสียหาย เพราะเครื่องมีระบบป้องกันที่ดี
แบตขนาด 60 Ahr ใช้เวลาฟื้นฟู ยืดอายุ ประมาณ 6-10 ชม
การชาร์แบตที่ถูกต้องคือต้องชาร์จกระแสเข้าไปที่ประมาณ 10-15% Rated หมายความว่า หากแบตขนาด 60Ahr การชาร์จที่ถูกต้อง จะต้องปรับตั้งกระแสไฟไว้ที่ประมาณ 6-9 Ahr ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 7- 10 ชั่วโมงจึงเต็ม
การชาร์จเร็วหรือการดั้มกระแสไฟฟ้าลงไปมากๆ เป็นการทำให้อายุแบตสั้นลงอย่างมาก เพราะแผ่นธาตุถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง ...นี่อาจเป็นเทคนิคหนึ่งของผู้จำหน่ายแบตที่ทำให้เราต้องจ่ายเงินซื้อแบตใหม่เร็วขึ้น
การชาร์จไฟของแบตเกือบทุกประเภทจะต้องใช้การTrickle หรือการค่อยๆเติมลงไป
เฉกเช่น เราเติมน้ำลงในขวด ตอนแรก เรากรอกได้เต็มที่ แต่พอใกล้เต็ม เราต้องค่อยๆรินลงไป จนเต็มเปี่ยมพอดี
อันนี้แหละที่เรียกว่า การTrickle
นั่นคือ ในช่วงแรกของการชาร์จ ระดับแรงดันไฟฟ้าจะต่างกันมาก ดังนั้นกระแสจะไหลได้สะดวก
ต่อมา ตอนที่แบตใกล้เต็ม แรงดันไฟฟ้าจะใกล้เคียงกัน จึงส่งผลให้กระแสไฟ้าไหลได้ช้า และเมื่อแบตเต็ม
ระดับแรงดันไฟฟ้าจะเท่ากัน กระแสจึงไม่ไหล ไม่มีการถ่ายเทประจุ เป็นอันสิ้นสุดการชาร์จ
แทบจะไม่มีแบตชนิดใดเลย ที่ไม่ใช้เทคนิคนี้ ดังนั้น การชาร์จเร็ว ชาร์จสั้น ไม่ดีต่อแบตแน่นอน
แรงดันไฟฟ้าของแบต
ตามสภาวะของเครื่องยนต์

ตัวอย่างคู่มือการใช้งาน
เครื่องชาร์จแบตเตอร์รี่แบบลูกคลื่นย้อนกลับ (Reverse Pulse Charger)
เป็นเครื่องชาร์จแบตที่สามารถสลายเกลือซัลเฟตที่แผ่นธาตุได้ ช่วยยืดอายุแบตได้ ชาร์จไฟได้เต็ม
- ใช้ไฟ 220 VAC
- ชาร์จ 12 VDC
- ค่าแรงดันการชาร์จ 12 , 13.6 , 14.4/14.7 V
- ใช้กับแบตเตอร์รี่ แบบกรด – ตะกั่วทุกชนิด ( Wet , MF , VRLA , AGM , GEL)
- ใช้กับแบต Calcium,Lithium ได้
- กระแสสูงสุดในการชาร์จ 15 A
- ชาร์จไฟแบบ 8 ขั้นตอน
- สลายเกลือซัลเฟตที่แผ่นธาตุได้ ทำให้ชาร์จไฟได้เต็ม ยืดอายุแบต ลดปัญหาแบตเก็บไฟไม่อยู่ได้
- ทำให้ระบบไดชาร์จรถยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ไดชาร์จไม่โทรมเร็วเกินไป
- แบตสามารถจ่ายไฟได้เต็ม ช่วยให้สตาร์ทเครื่องยนต์ง่าย ไดสตาร์ทไม่โทรมเร็วเกินไป
ข้อควรระวัง
- ขณะทำการชาร์จแบตจะมีก๊าซซึ่งมีส่วนประกอบของกำมะถัน เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และมีโอกาสติดไฟระเบิดได้ จึงควรชาร์จแบตในที่สามารถระบายอากาศได้ดี และห่างจากประกายไฟ
- อย่าทำการชาร์จเกินกำลังของเครื่องชาร์จ เช่น เครื่องชาร์จ 10 A ควรชาร์จที่ 7-8 A มิฉะนั้นเครื่องอาจเสียหายได้
- ไม่ควรชาร์จเกิน 10 – 15 % ของขนาดแบต เช่น แบตขนาด 50 Ahr (แอมป์ – ชั่วโมง) ควรชาร์จที่ประมาณ 50 – 57.5 Ahr มิฉะนั้นแบตอาจเสียหายได้
- ห้ามใช้เครื่องชาร์จกับแบตที่ไม่ตรงกัน เช่น เครื่องชาร์จ 12 V ต้องใช้กับแบต 12V เท่านั้น ห้ามใช้เครื่องชาร์จ 12 V กับแบต 6 V เด็ดขาด มิฉะนั้นเครื่องชาร์จหรือแบตจะเสียหายได้
- ขณะทำการชาร์จ ไม่ต้องเปิดฝาจุกช่องเติมน้ำกลั่น
- ขณะทำการชาร์จควรวางแบตไว้ในอ่างน้ำ เพื่อช่วยระบายความร้อนของเซลล์แบตและลดอัตราการเกิดก๊าซ เนื่องจากหากเซลล์แบตร้อนเกิน 55 องศา จะเกิดก๊าซขึ้นระหว่างการชาร์จ นอกจากนี้ยังทำให้เซลล์บิดตัวเสียรูป หรือซ๊อตภายในได้
- ห้ามวางเครื่องชาร์จไว้บนแบตเด็ดขาด
การใช้งาน
- ให้ทำการต่อสายชาร์จเข้ากับแบตตก่อน จากนั้นจึงค่อยเสียบปลั๊กไฟเครื่องชาร์จ
- การชาร์จทำได้ 2 แบบ
- ยกแบตออกมาจากรถ จากนั้นให้ทำตามข้อ 1
- แบบไม่ต้องยกแบตลงจากรถ ให้ทำการถอดสายไฟที่ต่อเข้ากับรถออกจากแบตเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของรถ จากนั้นจึงทำตามข้อ 1
- การถอดแบตตจากรถ ให้ถอดขั้วลบออกก่อนแล้วจึงถอดขั้วบวก
- การใส่แบต ให้ต่อขั้วบวกก่อน แล้วลบตาม
ระยะเวลาการชาร์จ
แบต 50 Ahr ชาร์จด้วยกระแสไฟ 5 A จะใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง เมื่อชาร์จเต็มไฟสีเขียวจะขึ้นที่หน้าจอ
คุณสมบัติพิเศษของเครื่องชาร์จ
- ป้องกันการระเบิดจากประกายไฟที่ขั้วแบต
- ป้องกันการลัดวงจร ไม่ทำให้แบตหรือเครื่องชาร์จเสีย
- ป้องกันอันตรายจากการต่อขั้วสลับกัน ไม่ทำให้แบตหรือเครื่องชาร์จเสีย
หมายเหตุ
- กรณีชาร์จแบตที่มีค่าต่ำกว่า 3 โวลต์ หรือแบตที่หมดสภาพแล้ว เครื่องชาร์จจะไม่ทำงาน
- แบตที่ชาร์จไว้เต็มแล้วไม่ได้ใช้งาน (อยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน) ค่าแรงดันไฟฟ้าจะตกลงไปประมาณ 1.5 โวลต์ คือจะมีค่าระหว่าง 12.9 ถึง 11.4 โวลต์
- แบตที่อยู่ในสถานะที่ยังไม่มีโหลดหากค่าแรงดันต่ำกว่า 9 โวลต์ แสดงว่าเสื่อมแล้ว
สถานะไฟหน้าจอ
OOOO กระพริบต่อเนื่อง หมายถึง เครื่องกำลังเช็คสถานะของแบต หรือสภาวะของแบตลูกนั้น ก่อนทำการชาร์จ
OOU หมายถึง ไม่ได้ต่อแบต
XXXX เป็นตัวเลขแสดงสถานการณ์ชาร์จ
Test ใช้เวลา 3 นาทีในการทดสอบสภาพแบต จากนั้นหากขึ้น E5 แสดงว่าแบตลูกนั้น
ไม่สามารถชาร์จได้หรือแบตลูกเล็กไป ไม่เหมาะสมกับเครื่องชาร์จ
HXXX ตัวเลขนับถอยหลัง การชาร์จจนกว่าจะเต็ม
END สิ้นสุดการชาร์จไฟเต็มแล้ว หรือชาร์จไม่ได้เนื่องจากแบตเสื่อมแล้ว หากคำว่า END ยังไม่ขึ้นในเวลาอันควรแสดงว่าแบตอาจเสื่อมแล้ว
การแสดงข้อผิดพลาด (Error Mode)
OOU คือ ยังไม่ได้ต่อสายแบต
E - คือ ต่อสลับขั้ว
E 1 คือ เอ้าพุทลัดวงจรหรือสายชาร์จแตะกัน
E 2 คือ ฟิวส์ขาด
E 3 คือ แบตเสื่อม ชาร์จไม่ได้
E 4 คือ พัดลมระบาย ความร้อนเสีย
E 5 คือ การทดสอบสถานะของแบตไม่ผ่าน แบตเสื่อม
สถานะไฟ
สีเขียว คือ ต่อ AC แต่ไม่มีแบต หรือการชาร์จเต็มแล้ว
สีแดง คือ กำลังชาร์จ
ไฟเหลืองกระพริบ 1 คือ E1
ไฟเหลืองกระพริบ 2 คือ E2
ไฟเหลืองกระพริบ 3 คือ E3
ไฟเหลืองกระพริบ 4 คือ E4
ไฟเหลืองกระพริบ 5 คือ E5
ประเภทของแบตเตอร์รี่
มี 2 ประเท่านั้น คือ
- Non – rechargeable or Primary cell battery เป็นแบตแบบชาร์จไม่ได้ ใช้แล้วทิ้ง เช่น แบต AA ทั่วไป เป็นต้น
- Rechargeable or Secondary Cell battery เป็นแบตแบบชาร์จไฟได้ เช่น แบตรถยนต์ เป็นต้น
จากตาราง จะเห็นว่าแบตรถยนต์ หรือ SLI battery จะอยู่ในกลุ่มของ Lead Acid Battery ซึ่งเป็นแบตที่สามารถ recharge ได้ แต่เนื่องจากลักษณะการทำงานของ batt แบบ SLI คือจะจ่ายกระแสไฟสูง ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ คือตอนสตาร์ทรถ จากนั้นพอเครื่องยนต์ติด ไดชาร์จจะชาร์จไฟเข้าแบตให้เต็ม พอแบตเต็มก็ตัดการชาร์จจากนั้น ไดชาร์จจะเป็นตัวจ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้าของรถแทนแบตเตอร์รี่
ลักษณะการใช้งานเช่นนี้ จึงทำให้แบตรถยนต์มีอายุการใช้งานสั้นกว่าแบตแบบ Deep Cycle มาก
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นอีกมาก เช่น
- ความร้อน
- การสั่นสะเทือน
- สภาพความเป็นกรด – ด่าง
- การออกแบบ (ให้มีอายุการใช้งานสั้น ๆ เพื่อให้ขายได้เร็ว ๆ )
- อื่น ๆ
โดยปัจจัย ข้างต้นนี้ควบคุมค่อนข้างยาก ดังนั้น แบตรถยนต์จึงมีอายุการใช้งานที่ไม่แน่นอน
ต่างจากแบตแบบ Deep Cycle ที่แตกต่างอย่างชัดเจน คือ การออกแบบให้มี Life Time ค่อนข้างนาน จึงใช้งานได้นานกว่ามาก แต่ราคาก็สูงเช่นกัน ส่วนปัจจัยอื่น เช่น ความร้อน การสั่นสะเทือน, สภาพความเป็นกรด – ด่าง นั้น ก็ค่อนข้างจะควบคุมได้
ดังนั้นจึงเป็นข้อแตกต่างที่ชัดเจนมาก สำหรับแบตสองชนิดนี้
ทำไมแบตเตอร์รี่จึงเสื่อม
จากการออกแบบทางทฤษฎี แบตเตอร์รี่ ( รถยนต์) จะมีอายุการใช้งานได้นานถึง 10 ปี ณ สภาวะหนึ่งๆ เช่นที่ 25 องศาเซลเซียส , ความชื้น 40 % , ความเข้มข้นของสารละลายคงที่ตามมาตรฐาน อย่างนี้เป็นต้น
แต่ในโลกแห่งความจริง เราไม่สามารถใช้งาน แบตเตอร์รี่ในสภาพการควบคุมดังต้องการได้ ซึ่งหากทำได้ ก็อาจมีค่าใช้จ่ายสูงมากจนไม่คุ้มกับการเปลี่ยนแบตเตอร์รี่บ่อยๆ หรือ ทุก 2-3 ปี
และอีกประเด็น คือ ความเป็นไปไม่ได้ในการควบคุมสภาวะการใช้งาน โดยเฉพาะในรถยนต์ที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง ฝุ่น , ผง หรือแม้กระทั่งความบกพร่องของไดชาร์จ, ฯลฯ จึงเป็นสาเหตุทำให้แบตในรถยนต์มีอายุการใช้งานสั้นมากๆ
จากปฎิกิริยาเคมี ในทางทฤษฎี ในช่วงทำการชาร์จไฟ ขบวนการทางเคมีจะย้อนกลับ แต่ในโลกแห่งความจริง คือ ไม่มีขบวนการใดๆในโลกที่ย้อนกลับได้ 100 % ( กฎข้อที่ 2 เทอร์โมไดนามิกส์ ) ดั้งนั้นปฎิกิริยาการย้อนกลับของ Pb SO4 หรือ ตะกั่วซัลเฟต จึงย้อนกลับได้ไม่สมบูรณ์และเกิดการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆที่แผ่นธาตุ
จนกระทั่งถึงจุดๆหนึ่ง ที่มากจนเกินขีดจำกัด ทำให้ชาร์จไฟไม่เข้า และจ่ายไฟไม่ได้ ซึ่งถึงเวลานั้นก็ต้องเปลี่ยนแบต
การยืดอายุแบตทำได้จริงหรือ ?
ทำได้จริงตามทฤษฎี คือหากทำการสลายซัลเฟต ออกจากแผ่นธาตุได้ก็เท่ากับเป็นการยืดอายุแบต แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แบตเตอร์รี่ลูกนั้นก็เกิดค่าความเสื่อมขึ้นแล้วค่าหนึ่ง(Degraded) คือทำอย่างไรก็ไม่เหมือนของใหม่
วิธีการยืดอายุแบต
1.ใช้สารเคมีสลายซัลเฟตเติมลงในช่องน้ำกรด
2.ใช้เครื่องสลายทางไฟฟ้า
สาเหตุหลักที่ทำให้แบตเสื่อมเร็ว
1.เกิดการจ่ายประจุมากเกินไป และไม่ได้ชาร์จในเวลาอันสมควร คือ Discharge ออกมาแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ชาร์จ – โอกาสเกิดน้อยมาก
2.เกิดจากความเข้มข้นของกรดซัลฟุริกที่ไม่เหมาะสม มากไป ( น้ำแห้ง ) หรือ น้อยไป – อยู่ที่เราดูแล
3.ใช้งานที่อุณหภูมิสูงติดต่อกันนานๆ - ถ้าไม่เกิน 70 องศา ก็ไม่เป็นไร
4.กรณีไม่ใช้รถนานๆ หรือ ไม่มีการชาร์จแบต เช่นจอดรถทิ้งไว้นานๆแล้วไปต่างประเทศ
5.การสะสมของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ – ปัจจัยนี้ควบคุมไม่ได้แต่ปัจจุบันได้
6.เกิดการลัดวงจรภายใน
7.สะพานไฟเสียหาย
8. อื่นๆ
อาการสะสมของซัลเฟต
1.เมื่อมีการสะสมของซัลเฟตที่แผ่นธาตุมากๆขึ้น จะพบว่าเวลาแบตจ่ายไฟจะทำให้ V ลดลงเร็วมาก และตอนชาร์จ ค่า V ก็จะเพิ่มเร็วมาก เนื่องจากค่าความต้านทานภายในสูงขึ้น ซึ่งเกิดจากการสะสมของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ
2.แรงดันไฟฟ้าของแบตต่ำกว่าเกณฑ์
3.กินน้ำกลั่น เนื่องจากขณะชาร์จ เกิดฟองแก๊สมากจึงระเหยออกไปได้
4.แผ่นธาตุ ขรุ ขระ แข็ง
จากสาเหตุการเสื่อมของแบต สาเหตุจากการเกิดซัลเฟต เป็นสิ่งที่มีผลต่ออายุของแบตมาก โดยหากสามารถทำการสลายซัลเฟตออกได้ก็เท่ากับยืดอายุของแบตออกไป ซึ่งอาจเป็น 2 เท่า ของปกติได้ หรือ อาจอยู่ได้นานถึง 5 ปี หากทำการสลายซัลเฟตเป็นประจำ แนะนำให้ทำทุก สองหรือสามเดือน
โครงสร้างแบตเตอร์รี่
1.แผ่นธาตุตะกั่ว
- ขั้วบวก เป็น ตะกั่วออกไซด์
- ขั้วลบ เป็น ตะกั่ว
2.น้ำกรด (กรดซัลฟุริก ) ที่แผ่นธาตุจมอยู่ เพื่อทำให้เกิดปฎิกริยาเคมี ระหว่างแผ่นตะกั่ว กับ กรดซัลฟุริก จนทำให้อิเลคตรอนวิ่งจากขั่วลบไปขั้วบวก แต่ กระแสไฟฟ้าจะวิ่งจากขั้วบวกไปขั้วลบ
สาเหตุความเสื่อมของแบตเตอร์รี่ โดยมากเกิดจากการเกาะตัวของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ ซึ่งทำให้ความต้านทานภายในเซลล์สูงขึ้น จนเป็นอุปสรรคต่อการชาร์จไฟ และ จ่ายไฟ
ในช่วงเริ่มแรกของการเกาะตัวของซัลเฟตที่แผ่นธาตุ การชาร์จไฟจากไดชาร์จหรือ เครื่องชาร์จ ก็ทำงานได้ลดลง ซึ่งก็เป็นเหตุให้เกิดการสะสมของซัลเฟตมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมากขึ้นแล้วในที่สุดก็ชาร์จไฟไม่เข้า จ่ายไฟไม่ออก ที่เราเรียกว่า แบตตาย ซึ่งมาสาเหตุ90 % มาจากการสะสมของซัลเฟต อีก 10 % เป็นสาเหตุอื่น
แบตตายแท้จริงแล้วก็เปรียบคล้ายๆอะไหล่รถเก่าเชียงกงคือเอามาล้างทำความสะอาดให้ดูเหมือนใหม่ได้ แต่ยังไงก็ไม่เหมือนของใหม่แกะกล่องและอายุการใช้งานก็เหลือน้อยลงไปตามลำดับ
การฟื้นฟูแบต ต้องทำตั้งแต่แบตยังใช้งานได้อยู่จึงจะได้ผลดีที่สุด
ดังนั้นการสลายซัลเฟต ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องกำเนิดความถี่ หรือ สารเคมีก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีที่สามารถทำให้แบตมีอายุนานขึ้นแต่จะไม่เหมือนของใหม่ 100%
คู่มือการใช้งานต้นฉบับ ภาษาอังกฤษ
ดาวน์โหลดที่นี่
ความรู้ต่างๆ
ชนิดของแบต
ทำไมแบตจึงเสื่อม
การชาร์แบบสวิชชิ่ง
เครื่องฟื้นฟูแบต
ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์
คุณสมบัติ ...เป็นเครื่องชาร์จ ...เครื่องฟื้นฟู...เครื่องยืดอายุแบตเตอร์รี่
ขนาด 12 V 8 A
ราคา 4,500 บาท
รับประกัน 8 เดือน
หากเสีย..เปลี่ยนเครื่องให้ใหม่ แต่ไม่เกิน 2 เครื่อง


สเปคเครื่องขนาด 12 V 15 A
Input voltage AC: 110VAC or 220VAC, 50-60Hz
Charge control: 14.4VDC/14.7/13.6VDC
Charging current: 8A (Max)
Ambient Temperature: -20°C to +50°C
Cooling: Fan Cooling
Charger Type: 7 step, full automatic switch mode
Batteries: 12V lead-acid batteries
Battery size: 40 Ahr
ทำงานด้วยระบบไมโครโปรเซสเซอร์ เพียงแค่เสียบปลั๊กและต่อสายเข้ากับแบตเตอร์รี่เท่านั้นเอง เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ
มีระบบป้องกันการลัดวงจร
มีระบบตัดไฟ เมื่อทำการรีเจ็นเสร็จแล้ว
ไม่ทำให้แบตเสียหาย เพราะเครื่องมีระบบป้องกันที่ดี
แบตขนาด 40 Ahr ใช้เวลาฟื้นฟู ยืดอายุ ประมาณ 5 ชม
หมายเหตุ
แบตเตอร์รี่ทุกชนิดในโลกนี้ มีอายุการใช้งานจำกัด
แบตเตอร์รี่ที่เสียแล้ว ก็เหมือนกับคนที่ตายแล้ว ...ฟื้นไม่ได้ ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือวิเศษแค่ไหนก็ทำไม่ได้
อีกอย่างคือ สภาพของแผ่นธาตุ ซึ่งมีผลอย่างมากกับอายุการใช้งาน
เครื่องฟื้นฟูนี้ จะทำงานได้ดีที่สุดสำหรับแบตที่ยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ แผ่นธาตุไม่เสียหาย อย่างเช่น จอดรถทิ้งไว้นาน(ไปเมืองนอก)
อย่างนี้แบตยังไม่เสียหาย แค่ประจุไฟหมด และมีขี้เกลือจับที่แผ่นธาตุ อย่างนี้ฟื้นฟูได้ผลดี
หรือต้องการรักษาความสดใหม่ของแบต หรือเพื่อยืดอายุของแบต(ที่ยังใช้งานได้)
อย่างนี้เป็นต้น

เชิญชมสินค้าได้ที่ร้าน แผนที่ร้าน ดาวน์โหลดแผนที่
ติดต่อสั่งซื้อ 081 497 2680 ,086 886 0234 ,089 003 2512
 |